วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

เรื่อง กระรอก 5 ตัว ในป่าแห่งหนึ่ง มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่- มีกระรอก 5 ตัว วิ่งเล่นไต่ขึ้นลงอยู่บนกิ่งไม้ กระรอกตัวที่ 1 โผล่หน้าขึ้นมา ชะโงกมองไปทางซ้าย และขวา แล้วพูดว่า แน่ะ! ใครเดินมา กระรอกตัวที่ 2 ก็โผล่หน้าขึ้นมา ชะโงกมองไปทางซ้าย และขวา พร้อมกับบอกว่า มีคนผู้ชาย ถือปืนเดินทางนี้ กระรอกตัวที่ 3 รีบบอกเพื่อนๆว่า เร็ว เร็ว หนีเร็วเถอะ กระรอกตัวที่ 4 กลัวมาก ร้องไห้ ฮือๆ และพูดว่ากลัวๆ กระรอกตัวที่ 5 พูดว่า กลัวทำไมกัน ฉันไม่เห็นกลัวเลย ทันใดนั้น มีเสียงปืนดังขึ้น ปัง ปัง ปัง กระรอกทุกตัว รีบวิ่งเข้าไปแอบซ่อนตัวเงียบอยู่ที่ใต้ใบไม้ พอสักครู่ใหญ่ นายพรานก็ถือปืนเดินผ่านต้นไม้ แต่ไม่เห็นเจ้ากระรอกทั้ง 5 ตัว จึงเดินเลยผ่านไปไกล กระรอกทั้ง 5 ตัว จึงค่อยๆโผล่ขึ้นมาแล้ววิ่งขึ้นลงต้นไม้ต่อไปอย่างร่าเริงและก็เที่ยวเล่นในป่าใหญ่เหมื่อมเดิม

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2552

หน่วยข้าว

แผนการสอนที่ 1
เรื่อง ข้าวมหัศจรรย์
ผู้สอน นางสาวพัชนี แบ่งเพชร
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เด็กรู้จักชนิดของข้าว เช่น ข้าวสาร ข้าวเปลือก ข้าวสวย ข้าวเหนียว
2.เพื่อให้เด็กรู้จักลักษณะของข้าว
3.เพื่อให้เด็กรู้จักการนำข้าวมาประกอบอาหาร
4. เพื่อให้เด็กรู้ถึงประโยชน์ของข้าว
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจองข้าว พร้อมทำท่าทางอิสระประกอบคำคล้องจองตามจินตนาการและสนทนาเนื้อหาของคำคล้องจอง
คำคล้องจองข้าว
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ
ขั้นสอน
1.ให้เด็กนับว่าข้าวมีกี่ประเภท แล้วให้เด็กนำตัวเลขมาแทนค่าที่เด็กนับจำนวนถ้วยข้าวได้
2.ให้เด็กนับว่าข้าวมีกี่สี แล้วให้เด็กนำตัวเลขมาแทนค่าที่เด็กนับจำนวนสีของข้าวได้
3.ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับข้าวว่ามีรูปทรงเป็นอย่างไร เหมือนกับอะไร ที่เด็กๆรู้จักบ้าง

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับลักษณะเมล็ดข้าว

อุปกรณ์
1.ถ้วย

สื่อ
1.ข้าวเปลือกจ้าว 2.ข้าวเปลือกเหนียว
3.ข้าวสารจ้าว 4.ข้าวสารเหนียว
5.ข้าวสุกจ้าว 7.ข้าวสุกเหนียว
8.ตัวเลข 1-10 9.คำคล้องจอง




แผนการสอนที่ 2
เรื่อง ส่วนประกอบของข้าว
ผู้สอน นางสาวสุนิดา ทิพประมวล
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจองข้าว พร้อมทำท่าทางอิสระประกอบคำคล้องจองตามจินตนาการและสนทนาเนื้อหาของคำคล้องจอง
คำคล้องจองข้าว
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ
ขั้นสอน
1.ครูใช้คำถาม เด็กๆรู้ไหมค่ะว่าข้าวมีส่วนประกอบอะไรบ้าง เช่น เปลือกของข้าว เมล็ดข้าว
2.ครูให้เด็กๆต่อจิกซอที่เป็นส่วนประกอบของข้าว

ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับส่วนประกอบของเมล็ดข้าว
อุปกรณ์
1.ถ้วย

สื่อ
1.ข้าวเปลือกจ้าว 2.ข้าวเปลือกเหนียว
3.ข้าวสารจ้าว 4.ข้าวสารเหนียว
5.ข้าวสุกจ้าว 7.ข้าวสุกเหนียว
8.จิกซอ 9.คำคล้องจอง


แผนการสอนที่ 3
เรื่อง ประโยชน์ของข้าว
ผู้สอน นางสาวธารทิพย์ ชิดจังหรีด

ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจองข้าว พร้อมทำท่าทางอิสระประกอบคำคล้องจองตามจินตนาการและสนทนาเนื้อหาของคำคล้องจอง
คำคล้องจองข้าว
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ

ขั้นสอน
1.ครูใช้คำถาม เด็กๆรู้ไหมว่าข้าวมีประโยชน์อย่างไร
2.ครูนำภาพที่แปรรูปมาจากข้าวให้เด็กๆดู เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว แป้ง ขนมปัง
3.ครูสนทนากับเด็กๆเกี่ยวกับโทษของข้าว
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับโทษและประโยชน์ของข้าว
อุปกรณ์
1.ถ้วย
สื่อ
1.ข้าวเปลือกจ้าว 2.ข้าวเปลือกเหนียว
3.ข้าวสารจ้าว 4.ข้าวสารเหนียว
5.ข้าวสุกจ้าว 7.ข้าวสุกเหนียว
8.ภาพโปสเตอร์ 9.คำคล้องจอง

แผนการสอนที่ 4
เรื่อง สถานที่
ผู้สอน นางสาววัชรา ทิพเจริญ
ขั้นนำ
ครูและนักเรียนร่วมกันท่องคำคล้องจองข้าว พร้อมทำท่าทางอิสระประกอบคำคล้องจองตามจินตนาการและสนทนาเนื้อหาของคำคล้องจอง


คำคล้องจองข้าว
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ

ขั้นสอน
1.ครูใช้คำถาม เด็กๆเคยเห็นข้าวจากที่ไหนบ้าง เช่น ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า นาข้าว โรงสี ยุ่งข้าว ที่บ้าน
2.ครูนำภาพจิกซอ เช่น ภาพต้นข้าวในนา
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับสถานที่พบข้าว และร่วมกันร้องเพลง
เพลงข้าว
มากินข้าวสิ มากินข้าวสิ
กับดี ดี กับดี ดี
มีทั้งแกงและต้มยำ อ่ำ อ่ำ อั้ม อร่อยดี
อุปกรณ์
1.ถ้วย
สื่อ
1.ข้าวเปลือกจ้าว 2.ข้าวเปลือกเหนียว
3.ข้าวสารจ้าว 4.ข้าวสารเหนียว
5.ข้าวสุกจ้าว 7.ข้าวสุกเหนียว
8.จิกซอ 9.คำคล้องจอง

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 วันพฤหัสบดี

อาจารย์สอนเรื่อง เกี่ยวกับแผนการสอนเดี่ยว
วันที่ 1 ควรสอนเรื่องลักษณะของหน่วยที่ทำ โดยมีเกฑณ์อย่างเดียว เช่น สี รูปร่าง ลักษณะ ขนาด การใช้คำถามลักษณะเป็นอย่างไร สีเป็นสีอะไร รูปร่างเป็น อย่างไร
วันที่ 2 ส่วนประกอบหน่วยที่ทำว่ามีอะไรบ้าง การใช้คำถามกับเด็กให้โยงกับความรู้เดิม หรือว่าเราอาจเอานิทานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น การเล่านิทานเกี่ยวกับหน่วย เอารูปมาให้เด็กดู
วันที่ 3 ประโยชน์การเล่าเป็นนิทานเกี่ยวกับหน่วย การสอนผ่านนิทาน การบอกประโยชน์ที่สร้างรายได้ และการบอกว่าเราได้ประโยชน์อย่างไรกับตัวเรา เช่นการทำอารหาร

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดี ที่18 ธันวาคม 2551

อาจารย์สอนเกี่ยวกับหลักการสอนคณิตศาสตร์
1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตัวเอง
3.มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้และลำดับของการพัฒนาความคิดรวบยอด
5.ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์ เพื่อใช้ในการวางแผนและกิจกรรม
6.ใช้ประโยชน์จากประสบการเดิมของเด็ก
7.รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8.ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9.ใช้วิธีที่เด็กมีส่วนรวมหรือปฎิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลข
10.วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งโรงเรียนฉละบ้านอย่างต่อเนื่อง
11.บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสมำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง
12.คาบหนึ่งการสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13.เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปยาก
14.ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลข หรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้ว
การเตรียมพร้อมให้เด็กเก่งคณิตศาสตร์นั้นจะต้องให้เด็กได้พัฒนาการทางด้านสายตาก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าหากเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนกจัดแบ่งประภทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเร๊ยนรู้ได้

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

สัปดาห์ที่ 4 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2551

มาตรฐานการวัดในระบบเมตริก
1. คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
2. ระบบเมตริกที่เด็กใช้ในชีวิตประจำวัน
3. การวัดเรื่องสัปดาห์ เช่น หนึ่งสัปดาห์มีกี่วัน
ลักษณะหลักสูตรทีดี
มีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
1. เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
2. เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ
3. แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่ฮยไป
4. สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
7. เปิดให้เด็กได้ค้นคว้า สำรวจปฎิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

คณิตศาสตร์

คณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับเรื่องตัวเลข เรียงลำดับ จำนวนนับ เปรียบเทียบ เชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้
จุดมุ่งหมาย
1.เพื่อให้เด็กได้ใช้เหตุผล
2.เพื่อให้เด็กใช้กระบวนการทางการหาคำตอบ
3.เพื่อเกิดความเข้าใจรู้จักคำศัพท์และสัญลักษ์